เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: "Review fun with math"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

ทบทวนรูปทรงกระบอก


Web แสดงเนื้อหา เรื่อง "พื้นที่ผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ"



เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่และปริมาตรของรูปทรงกระบอกได้

Week
input
Process
Output
Outcome


























    1-2 






โจทย์
- พื้นที่และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต
- พีระมิด ปริซึม ทรงกลม ทรงกระบอก ฐานสามเหลี่ยม สีเหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม ภาพคลี่
- พื้นที่และปริมาตรขอรูปทรงกระบอก

Key Questions
- จากปริซึมแต่ละประเภทนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง


เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับ ลักษณะปริซึมรูปทรงต่างๆ พร้อมวิธีคิดเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- ปริซึมประเภทต่างๆ
- เกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- ภาพปริซึมประเภทต่างๆ
- เหยือกน้ำรูปทรงกระบอก
- แก้วน้ำ
- ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- โจทย์ปัญหา
ชง : ครูให้นักเรียนดูปริซึมประเภทต่างๆ


- ครูใช้คำถามกระตุ้น “จากปริซึมแต่ละประเภทนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูและนักเรียนร่วม“เล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”ซึ่งเกี่ยวกับให้นักเรียนแต่ละคนร่วมเสนอความคิดเห็น ว่าเมื่อเห็นปริซึมประเภทต่างๆ แล้วนึกถึงอะไร (จับเวลา ประเภทละ 3 นาที นักเรียนแต่ละคนเขียนชื่อสิ่งของนั้นลงในสมุด)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “จากภาพนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”

เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น
- ครูนำเหยือกน้ำรูปทรงกระบอก 1 ชิ้น และแก้วน้ำขนาดเล็ก 1 ใบ

ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหากจะต้องใช้แก้วน้ำตักน้ำเติมเหยือกน้ำให้เต็มจะต้องตักกี่ครั้ง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมตอบคำถามและร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลลงในสมุดทดคิด
- ครูและนักเรียนร่วมทดลองและพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้น “ นักเรียนคิดว่า น้ำที่อยู่ในเหยือกนี้มีปริมาตรท่าใด?”
เชื่อม : ครูนำ ปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม มาให้นักเรียนได้ร่วมสังเกตคุณสมบัติ ร่วมการวิเคราะห์โจทย์

       
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และเสนอวิธีคิดของตนเอง พร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดทดคิด
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหากปลากระป๋องยี่ห้อหนึ่งบรรจุในกระป๋องทรงกระบอก 35 Cm. รัศมีของฐานยาว 5 Cm.ฉลากปิดด้านข้างจะมีพื้นที่อย่างน้อยเท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นพร้อมบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสมุดทดคิด



ภาระงาน
- “เล่นเกม สัมพันธ์กันฉันภาพ”
- ร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริซึมประเภทต่างๆ
- ร่วมทดลองพร้อมบันทึกผลในกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
- วิเคราะห์ภาพคลี่ของปริซึมทรงกระบอกฐานวงกลม
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหา และออกแบบโจทย์ประยุกต์

ชิ้นงาน
- สมุดทดคิด บันทึกผลการทดลองและกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา
- โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร และภาพคลี่ของรูปทรงต่างๆ
ความรู้
- การหาพื้นที่และปริมาตรขอรูปทรงกระบอก
- การวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาโดยนำสิ่งที่เรียนมาปรับประยุกต์ใช้
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์จากผลการสังเกต และการทดลองในกิจกรรม “ตักน้ำใส่เหยือก”
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหารพื้นที่และปริมาตรของภาชนะรูปทรงต่างๆ
ทักษะการเห็นรูป
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพคลี่ที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปทรงต่างๆ พร้อมทั้งวิธีการปริมาตรและพื้นที่
ทักษะการออกแบบจำลอง
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ ปริมาตร ของ ปริซึมประเภทต่างๆ
ทักษะการเรียนรู้
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการหาพื้นที่และปริมาตร มาปรับใช้ในการวิเคราะห์โจทย์ใหม่ได้


คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน





ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู/ชิ้นงาน

   


         







1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ใน Quarter นี้ คุณครูและพี่ๆ ม.3 ได้เริ่มต้น ทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมา โดยพี่ ๆ ม.3 ได้เลือกทบทวนเกี่ยวกับเรื่องการหาพื้นที่และปริมาตรของทรงกระบอก โยรูปแบบวิธีการในการทบทวนจะเป็น การทบทวนด้วยโจทย์ประยุกต์ จากใบงาน การออกแบบโจทย์ประยุกต์ เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนและอภิปรายร่วมกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ ต่อวิธีการคิดของแต่ละคน ซึ่งพี่ๆ ก็สามารถนำกระบวนการในการเรียนรู้ในขั้นตอนกรทดลองเพื่อหาพื้นที่และปริมาตรของน้ำ มาปรับช้ำได้อีกครั้งค่ะ

    ตอบลบ