เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: "Review fun with math"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

ทบทวนเอกนามและพหุนาม


เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบพหุนามมาปรับใช้แก้โจทย์ปัญหาระหว่างนิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนามได้
Week
input
Process
Output
Outcome














7-9
โจทย์
- เอกนาม
- พหุนาม
- นิพจน์ / ดีกรี/สัมประสิทธิ์
Key  Questions
 - นักเรียนคิดว่าตัวเลข 2 พจน์นี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- นักเรียนคิดว่า เอกนามนิพจน์ และดีกรี  หมายถึงอะไร ลักษณะเป็นอย่างไร
- พหุนามมีกระบวนการในการหาคำตอบโดยวิธีการ
 บวก ลบ ด้วยวิธีการใดบ้าง

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับวิธีการคำตอบของนิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนาม


ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์นิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนาม
- คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ต
ชง : นักเรียนทบทวนการแยกตัวป
ระกอบพหุนามจากเรื่องสมการเชิงเส้นที่เคนเรียนผ่านมาแล้ว
เชื่อม :ครูยกตัวอย่างโจทย์ ดังนี้
1.          X2+2X
2.          5X+10
3.          2X5+4X4+10X3
- นักเรียนแต่ละคนเสนอความคิดเห็นและแชร์วิธีคิดรวมกัน
ชง : ครูเขียนโจทย์ ดังนี้
                      2XY กับ X2+2X
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตัวเลข 2 พจน์นี้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์นี้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่า เอกนามนิพจน์ และดีกรี  หมายถึงอะไร ลักษณะเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนสืบค้นข้อมูล และอภิปรายร่วมกัน
- ครูแจกตาราง  ดังนี้




 - นักเรียนแต่ละคนนำความเข้าใจที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลมาปรับใช้ในการหาคำตอบเพื่อบันทึกลงในตารางที่ได้
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด โดยมีโจทย์ดังนี้
1.       -7X  +  7Y
2.       –bX2Y  + 9X2Y
3.       7XY2Z   + (5XY2Z)
เชื่อม : นักเรียนคิดว่าเราจะหาผลบวกจากเอกนามเหล่านี้ได้อย่างไร
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ แชร์วิธีคิดร่วมกัน
- ครูร่วมจัดระบบข้อมูลจากวิธีคิดของนักเรียนและร่วมเรียนรู้เพิ่มเติม
- ครูแจกใบงานเกี่ยวกับการหาผลบวก – ลบ เอกนาม ให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมทำใบงาน และอภิปรายร่วมกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
ชง : ครูกำหนดโจทย์ การบวก – ลบ เอกนามให้นักเรียนแต่ละคน ไม่ซ้ำกัน
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงวิธีคิด และนำเสนอแนวคิด เพื่อทบทวนความเข้าใจ
ชง : ครูใชคำถามกระต้นการคิด พหุนามมีกระบวนการในการหาคำตอบโดยวิธีการ บวก ลบ ด้วยวิธีการใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูล
- นักเรียนแต่ละคนอภิปรายร่วมกันวิธีการ บวก ลบ พหุนาม
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด โดยมีโจทย์ดังนี้
                     5X+3 และ -12X+15
- นักเรียนมีวิธีคิดอย่างไรจากโจทย์ข้างต้น
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอวิธีคิด
- ครูแลนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
ชง : ครูเขียนโจทย์ ต่อไปนี้ให้นักเรียนได้ทดลองแสดงความคิดเห็น
1.       3XY2-X2 Y กับ 2XY2-1
2.       5Y2-3Y-9 กับ 16Y2 +5Y-8
3.       3M2+4 กับ 5M2 -2M -7
 เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนเสนอวิธีคิดลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ครูแจกใบงานเกี่ยวกับการหาผลบวก – ลบ พหุนามให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมทำใบงาน และอภิปรายร่วมกัน เพื่อเพิ่มความเข้าใจ
- นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ เอกนาม พหุนาม  นิพจน์ ดีกรี และสัมประสิทธิ์ ในรูปแบบ Flow Chart
ภาระงาน
- แสดงวิธีคิดและหาคำตอบ เกี่ยวกับการบวก-ลบ เอกนาม และพหุนาม
- สืบค้นข้อมูลและอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับการบวก-ลบ เอกนาม และพหุนาม
ชิ้นงาน
 - สมุดบันทึกเล่มเล็กแสดงวิธีคิดหาคำตอบจาก โจทย์ เอกนาม พหุนาม
-  Flow Chart สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับ เอกนาม พหุนาม  นิพจน์ ดีกรี และสัมประสิทธิ์
ความรู้
กระบวนการวิเคราะห์โจทย์และหาคำตอบนิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนาม
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์คำตอบนิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนาม
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ ของพหุนาม ที่เกิดขึ้นจากเอกนาม
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเอกนามและพหุนามได้
 ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมการเชิงเส้นหนึ่งตัวแปร และสองตัวแปรกับ นิพจน์ที่เป็นเอกนามและพหุนาม ได้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้





- ตัวอย่างการแสดงวิธีคิด ในสมุดบันทึกเล่มเล็ก และนำมาอภิปรายร่วมกัน
                          

                          

-ตัวอย่างสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง เอกนาม และพหุนาม




  

- ตัวอย่าง Mind Mapping สรุปการเรียนรู้หลังเรียน





1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในกิจกรรมการเรียนรู้นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับ เอกนามและพหุนาม โดยคุณครูได้เริ่มต้นกิจกรรมโดยให้พี่ๆ ได้ลองทบทวนสิ่งที่เรียนผ่านมาแล้วเกี่ยวกับ เอกนามและพหุนามที่ผ่านมา พร้อมทั้งนำเสนอมุมมองความเข้าใจของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งก็ยังมีความสับสนเกิดขึ้น ในบางส่วนของของ คุณครูจึงได้จับคู่ให้พี่ๆ สืบค้นของมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ เอกนามและพหุนาม และนำมาอภิปรายร่วมกัน หลังจากนั้น พี่ๆ ม.3 ก็ได้เริ่มต้นนำสิ่งที่เข้าใจ ไปปรับใช้และเพิ่มความเข้าใจด้วยกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นในช่วงที่คุณครูได้นำใบงานให้พี่ๆ ได้ฝึกทำ ซึ่งก็ใช้เวลาสำหรับเรื่องนี้ ประมาณ2 สัปดาห์
    หลังจากที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และทบทวนผ่านมาแล้ว คุณครูก็ได้ให้พี่ๆ สรุปความเข้าใจของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องเอกนามและพหุนาม ในกระดาษ A4 และมีการนำเสนอความเข้าในกันอีกครั้งในช่วงสุดสัปดาห์

    ตอบลบ