เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: "Review fun with math"
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
1. นักเรียนเกิดทักษะทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้ไขปัญหาโจทย์ต่างๆด้โดยไม่ต้องท่องสูตร แต่เกิดความเข้าใจโดยแท้จริง
3.มี visualization ในการมองภาพรูปในมิติต่างๆ เพื่อเข้าใจและสามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาต่างๆได้

ทบทวนโจทย์ประยุกต์ปริมาตร



Web แสดงเนื้อหา เรื่อง "พื้นที่ผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ"

        

เป้าหมายความเข้าใจรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติได้ 
Week
input
Process
Output
Outcome



















     5-6









โจทย์

แก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ

Key Question
- นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆ

เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)



ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ห้องเรียน
- โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)



ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ ด้วยความสัมพันธ์จากภาพคลี่ต่างๆ?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคน นำเสนอความเข้าใจของตนเอง ในแต่ละละเรื่อง อาทิเช่น ที่มาของการหาพื้นที่ผิวข้างของรูปทรงกระบอก หรือ ความสัมพันธ์ของรูปทรงกระบอกกับรูปทรงกรวย
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าถ้าต้องการทำกรวยอันหนึ่งด้วยไม้ ให้กรวยนี้มีรัศมีด้านนอกเท่ากับ 15 เซนติเมตร รัศมีด้านใน 13 เซนติเมตร ความสูงด้านนอก 10 เซนติเมตร ความสูงด้านใน 9 เซนติเมตร อยากทราบว่า เนื้อไม้ที่ใช้ทำกรวยจะมีปริมาตรเท่าใด?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนออกแบบวิธีคิดของตนเอง ตามความเข้าใจ ลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก พร้อมนำเสนอวิธีคิด ให้เพื่อนและครูร่วมรับฟัง
- ครูแจกใบงาน โจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) ให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนแสดงวิธีคิดของตนเอง ลงในใบงาน พร้อมร่วมแชร์ให้เพื่อนและคุณครูได้ร่วมรับฟังและเสนอในแต่ละข้อ
ใช้ : คุณครูให้นักเรียนแต่ละคนจับฉลากโจทย์ประยุกต์ คนละ 1 โจทย์ พร้อมแสดงวิธีคิดลงในกระดาษ A4 และนำเสนอให้เพื่อนและครูได้รับฟัง
- นักเรียนแต่ละคนออกแบบโจทย์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิต สามมิติ
(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) คนละ 2 ข้อ พร้อมนำเสนอวิธีคิด ลงในกระดาษ A4
- นักเรียนแต่ละคน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) จากความสัมพันธ์ที่ได้จากภาพคลี่ ลงในกระดาษ A4
ภาระงาน
- วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- ออกแบบโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ(ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม) จากความสัมพันธ์ที่ได้จากภาพคลี่ ลงในกระดาษ A4

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก แสดงวิธีการคิดและการแก้โจทย์ปัญหา
- โจทย์ และวิธีคิด - สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การหาพื้นที่  พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ

ความรู้
- การวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์และความสัมพันธ์ ของการหาพื้นที่ พื้นผิว และปริมาตร ของรูปทรงเรขาคณิตสามมิติ (ทรงกระบอก ทรงกรวยและทรงกลม)

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
- สามารถวิเคราะห์โจทย์ปัญหาโดยนำสิ่งที่เรียนมาปรับประยุกต์ใช้ อาทิเช่น ความสัมพันธ์ของภาพคลี่กับรูปทรงต่างๆ
ทักษะการให้เหตุผล
- สามารถให้เหตุผลสำหรับความสัมพันธ์ของที่มา ในตัวแปรต่างๆได้อย่างมีเหตุผล
ทักษะการแก้ปัญหา
- สามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์เกี่ยวกับการหารพื้นที่ พื้นผิวและปริมาตรของรูปทรงต่างๆได้
ทักษะการเห็นรูป (Prattle)
- มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างภาพคลี่ที่ประกอบขึ้นมาเป็นรูปทรงต่างๆ
ทักษะการเรียนรู้
สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการหาพื้นที่และปริมาตร มาปรับใช้ในการวิเคราะห์โจทย์ใหม่ได้

คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน


ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้




- ประมวลความเข้าใจในรูปแบบการตูนย์ช่อง




1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    ในกิจกรรมของสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อทบทวนกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา เกี่ยวกับปริมาตรในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการผสมผสานความเข้าใจ ทั้งในรูปแบบ ใบงาน และโจทย์ต่างๆ ที่คุณครูได้นำมาแชร์ในแต่ละสัปดาห์ เพื่ออำนวยให้เกิดกระบวนการคิด และทักษะการวิเคราะห์
    นอกเหนือจากนี้ พี่ๆก็ได้ถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองในรูปแบบของการ์ตูนช่อง ตามจินตนาการของตนเอง เพื่อถ่ายทอดความเข้าใจของตนเองให้เพื่อนและผู้อื่นๆได้ร่วมเรียนรู้ค่ะ

    ตอบลบ